วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา คือ เทศนากัณฑ์แรก พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี จนทำให้เกิดพระอริยสงฆ์สาวก รูปแรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน วันนี้จึงเกิดพระรัตนตรัย ครบ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี เราเรียกวันนี้ว่า วันอาสาฬหบูชา นั่นเอง



บทสวดมนต์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย. ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ.

ทางสุดโต่ง ๒ อย่าง ที่ไม่ควรปฏิบัติ

เท๎วเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต.

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

ทางสายกลาง (ทางออก ทางแห่งความหลุดพ้น) มรรคมีองค์ ๘

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

อริยสัจ ๔

ทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง. ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา.

สมุทัย : เหตุให้เกิดทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง. ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัต๎ระ ตัต๎ราภินันทินี. เสยยะถีทัง. กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา.

นิโรธ : ความดับทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง. โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง.

มรรค : ทางดับทุกข์

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.

ญาณในอริยสัจ ๔

ญาณรู้ว่า นี่คือทุกข์, ทุกข์ควรกำหนดรู้, ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือ เหตุแห่งทุกข์, เหตุแห่งทุกข์ควรละ, เหตุแห่งทุกข์ละได้แล้ว

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือความดับทุกข์, ความดับทุกข์ควรทำให้แจ้ง, ความดับทุกข์ ทำให้แจ้งแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือหนทางดับทุกข์, หนทางดับทุกข์ควรเจริญ, หนทางดับทุกข์ได้เจริญแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ.

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ.

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ.

พระโกณทัญญะบรรลุโสดาบัน

อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง. อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ.

เสียงแซ่สร้องการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าบันลือลั่นไปถึงเทวดา ๖ ชั้น และ พรหม ๑๖ ชั้น

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ.

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
พ๎รัห๎มะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
พ๎รัห๎มะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา มะหาพ๎รัห๎มา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
มะหาพ๎รัห๎มานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ.

พระพุทธเจ้าตรัสรับรองการบรรลุธรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พ๎รัห๎มะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ. อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ. อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง. อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ. อิติหิทัง อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญเต๎ววะ นามัง อะโหสีติ.

คำแปลธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ มาตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค (การประพฤติตนเพื่อแสวงหาความสุขในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา) เป็นธรรม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง คือ อัตตกิลมถานุโยค (การประพฤติตนด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก) ซึ่งเป็นทุกข์อย่างเดียว ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ที่ไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ อันตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพาน.

มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่ง เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน ? คือ มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้นั่นแล.ได้แก่ข้อปฏิบัติเหล่านี้ คือ :- ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย นี่คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วนั้น อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือทุกข์นี้แล มีอยู่ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ความตายก็เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์คือความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่ นี้คือ ตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ ตัณหาคือความอยากในกามคุณ ๕, ตัณหาคือความอยากมีอยากเป็น, ตัณหาคือความอยากไม่มีไม่เป็น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเอง เป็นความสลัดทิ้ง เป็นความสละคืน เป็นความปล่อยเป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยแห่งตัณหา.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่. นี่คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปด ได้แก่ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว,แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้คือทุกขอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ พึงกำหนดรู้”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้คือทุกขสมุทัยอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ควรละ”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขนิโรธอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ควรกระทำให้แจ้ง”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้เรากระทำให้แจ้งแล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ” ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ (ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดี ตราบใด.

เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตราบนั้น. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะ (ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. ก็แล ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว.

ครั้นพระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตอยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”.

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมเทวดาทั้งหลายก็ส่งเสียงบันลือข่าวขึ้นว่า นั่น วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้วณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้.

ทวยเทพชั้นจาตุมหาราช ได้สดับเสียงของเหล่าภุมเทวดาทั้งหลายแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป. ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นยามา ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้วก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นดุสิต ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นนิมมานรดี ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นดุสิตแล้วก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมทั้งหลาย ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือเสียงขึ้นว่า.

นั่น วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้.เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่ว อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด.ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ.เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะ นี้ จึงเป็นชื่อของพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.

ใจความสำคัญ : เป็นบทพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์ เรียกว่า ทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ ๑) การทรมานตน ๒) การปรนเปรอตนด้วยกาม และข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดจาชอบ สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นบทสวดที่ชี้ทางแห่งความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นบทสวดที่ควรศึกษาให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งอย่างยิ่ง

ประวัติ : หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ ท้าวสหัมบดีพรหมลงมากราบอาราธนาให้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ทรงรับอาราธนาและเสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หลังจบพระธรรมเทศนา พระอัญญาโกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบวชเป็นภิกษุรูปแรกในพุทธศาสนา ในวันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญเดือน ๘

ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๒๘-๕๓๒ ข้อที่ ๑๖๖๔-๑๖๗๓

https://www.lcbp.co.th/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม

  วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม วันวิสาขบูชา  2567 ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6...