วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บทแผ่เมตตา เพื่อการแบ่งปันความสุขให้สรรพสิ่งในโลก

 

บทแผ่เมตตา เพื่อการแบ่งปันความสุขให้สรรพสิ่งในโลก




          รวม บทแผ่เมตตา เพื่อการแบ่งปันความสุข ทั้ง บทแผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง บทแผ่เมตตาไปสู่ผู้อื่น บทแผ่เมตตาทั่วไป คาถาแผ่ส่วนกุศล และบทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

บทแผ่เมตตา

          ในชีวิตหนึ่งของมนุษย์เรานั้น... สิ่งที่ทุกคนปรารถนาเป็นอย่างมากนั้นก็คือ "ความสุข" เพราะไม่ว่าเราจะกระทำสิ่งไหน สิ่งที่เราหวังให้เกิดขึ้นตามมานั้นก็คือความสุข ถึงแม้ว่าความสุขของคนเราจะมีหน้าตาและมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่า "ความสุข" จะมาในรูปแบบไหน เชื่อเลยค่ะว่าทุกคนต้องเต็มใจรับมันอย่างแน่นอนใช่ไหมล่ะคะ  

          และในฐานะพุทธศาสนิกชนมองความสุขว่า... เป็นการได้มาซึ่งความอิ่มเอมและสบายใจ และที่สำคัญความสุขของเรานั้นจะต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่ทั้งนี้บางทีเราอาจจะเบียดเบียนผู้อื่นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือทำไปเพราะการไม่รู้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ทุกคนมีจิตใจเมตตาต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนมนุษย์ ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก  สัตว์เดรัจฉาน ตลอดจนเทพเทวา เจ้ากรรมนายเวร เพื่อให้ทุกสรรพชีวิตมีความสุขเสมอกันด้วยการ "แผ่เมตตา" นั่นเอง

          ส่วนในวันนี้ กระปุกดอทคอมก็ขอรวมบทแผ่เมตตามาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้แบ่งปันความเมตตาไปยังทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ ... ทั้งนี้ หลายคนอาจจะคิดว่าการแผ่เมตตาจะต้องท่องบทสวดเป็นภาษาบาลีเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว เพียงแต่ตั้งสมาธิ ทำจิตให้ว่าง เราก็สามารถแผ่เมตตาได้แล้วล่ะค่ะ เพราะว่าหากไม่ตั้งจิตให้ว่าง ถึงแม้จะท่องบทแผ่เมตตาถูกต้อง ก็ไม่มีประโยชน์อะไรอย่างแน่นอน

บทแผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง

          อะหัง สุขิโต โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข) 

          อะหัง นิททุกโข โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์)

          อะหัง อะเวโร โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร)

          อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง)

          สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด)   

บทแผ่เมตตาไปสู่ผู่อื่น 

          สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ นิททุกขา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ  

          ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงถึงความสุข ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความคับแค้นใจ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงเถิดฯ

บทแผ่เมตตาทั่วไป

          สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

          อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

          อัพยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

          อะนีฆาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

          สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


คาถาแผ่ส่วนกุศลแผ่เมตตาทั่วไป

          อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร 

          ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

          อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย 

          ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

          อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา 

          ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

          อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา 

          ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
  
          อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา 

          ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

          อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี 

          ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
  
          อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา 

          ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

          ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้า ด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ



CR  ::  https://hilight.kapook.com/view/78632

บทสวดมนต์แผ่เมตตา บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

 

บทสวดมนต์แผ่เมตตา บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร


บทสวดมนต์แผ่เมตตา บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร


บทสวดมนต์แผ่เมตตา

คาถาแผ่เมตตา

(แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)

สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ

อัพพะยาปัชฌา โหนตุ

อะนีฆา โหนตุ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

 

คาถาแผ่เมตตาตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ อะหัง นิททุกโข โหมิ อะหัง อะเวโร โหมิ อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด


คาถาแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่

บทเมตตา

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด

อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

อะนีฆา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

บทกรุณา

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ จงพ้นจากทุกข์เถิด

บทมุทิตา

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด

บทอุเบกขา

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น

กัมมัสสะกา เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน

กัมมะทายาทา เป็นผู้รับผลของกรรม

กัมมะโยนิ เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด

กัมมะพันธุ เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

กัมมะปะฏิสะระณา เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยัง กัมมัง กะริสสันติ กระทำกรรมอันใดไว้

กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ดีหรือชั่ว

ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น


คาถาแผ่ส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ


บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

เมื่อเสร็จพิธีทำบุญและพระสงฆ์กล่าวรับแล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของเราโดยว่าดังนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนายบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

ประโยชน์ของการแผ่เมตตาที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้มี 11 ประการ ได้แก่

  1. ทำให้หลับก็เป็นสุข 
  2. ตื่นก็เป็นสุข 
  3. ไม่ฝันร้าย 
  4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย 
  5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย (ผีเปรต อสุรกาย วิญญาณต่างๆ) 
  6. เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครอง 
  7. แคล้วคลาดจากภยันอันตราย 
  8. จิตเป็นสมาธิได้ง่าย 
  9. สีหน้าย่อมผ่องใส 
  10. เมื่อจะตายใจก็สงบ (สู่สุคติภูมิ) 
  11. ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงชั้นพรหม

CR  ::   https://www.sanook.com/

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

 

คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

การหัดสวด คาถาชินบัญชร ควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูและให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต

 

คาถาชินบัญชร, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐานว่า

คำภาวนาก่อนสวด

ตั้งนะโม 3 จบ >>> ที่มาของบทสวด นะโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ


พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)

พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม

ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า

ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง   ธะนะกาโม ละเภธะนัง

อัตถิกาเย กายะ ญายะ   เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท

  1. ชะยาสะนากะตา พุทธา     เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง        
    เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

  2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา    อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง     
    มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

  3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

  4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง  โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

  5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

  6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน          
    โสภิโต มุนิปุงคะโว

  7. กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง     
    ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

  8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ        อุปาลี นันทะ สีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา       
    นะลาเต ติละกา มะมะ.

  9. เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา             
    ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ          
    อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

  10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ           ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ        
    วาเม อังคุลิมาละกัง

  11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ         
    เสสา ปาการะสัณฐิตา

  12. ชินา นานาวะระสังยุตตา       สัตตัปปาการะ ลังกะตา
    วาตะปิตตาทะสัญชาตา        
    พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

  13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ          
    สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

  14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ       
    เต มะหาปุริสาสะภา.

  15. อิจเจวะมันโต                     สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ                     
    ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ                   
    ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ                   
    ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต         จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

 คำแปลพระคาถาชินบัญชร ทุกบท

  1. พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

  2. มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

  3. ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

  4. พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

  5. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

  6. มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

  7. พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

  8. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

  9. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

  10. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

  11. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

  12. อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

  13. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

  14. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

  15. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

ที่มา , ประวัติ คาถาชินบัญชร หรือพระคาถาชินบัญชร

ชินบัญชรเป็นคาถาหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีอายุยาวนานนับร้อยปี ตั้งแต่เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะด้วยพลานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธหันมาท่องพระคาถานี้เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการป้องกันให้ตนเองนั้นพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ทั้งปวง

มีการถกเถียงกันมาเป็นระยะเวลายาวนานนับทศวรรษเกี่ยวกับเรื่องราวที่ว่า ใครที่เป็นผู้แต่ง คาถาชินบัญชร ขึ้นระหว่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม กับพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญบาลีปกรณ์รูปหนึ่งจากเชียงใหม่ ซึ่งในกรณีของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าท่านเป็นเพียงแค่ผู้นำพระ คาถาชินบัญชร มาเผยแพร่ต่อ มิได้เป็นผู้แต่งขึ้นเอง

ตามที่ได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ไปสวดพระคาถานี้ถวายองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีรับสั่งว่าถ้อยคำในบทสวดนั้นไพเราะ และได้ทรงซักถามเพิ่มเติมว่า “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงได้ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้” ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่าผู้แต่งขึ้นน่าจะเป็นพระภิกษุชาวล้านนารูปหนึ่ง อยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่อาจะเป็นยุคทอง

เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคสมัยที่มีการสนับสนุนให้พระเถระหลายร้อยรูปเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา เมื่อได้สำเร็จการศึกษาจึงมีการแข่งขันกันแต่งบาลีปกรณ์กันอย่างเอิกเกริกจนชื่อเสียงแผ่ขยายไปจนถึงพม่า กรุงศรีอยุธยา สิบสองปันา และล้านช้าง ทำให้เมืองเหล่านั้นต้องขอคัมภีร์ภาษาบาลีที่จารโดยพระภิกษุล้านนาไปศึกษาอย่างแพร่หลาย

ความหมายของชินบัญชร

ในความหมายของคำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่

จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ มาสถิตในทุกส่วนของร่างกายจนรวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมลงมาห้อมล้อมรอบตัวของผู้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรจนกระทั่งอันตรายก็ไม่สามารถหาช่องโหว่เพื่อสอดแทรกเข้ามาได้

เราได้รู้จักประวัติความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องไปกำหนดจิตใจให้สงบเพื่อเริ่มสวดภาวนาพระคาถากันแล้ว

อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรนี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดสวดมนต์ หรือภาวนาคาถาชินบัญชรอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะกิน เดิน นั่ง นอน หรือภาวนาพระคาถาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้กระทั่งตอนทำงานก็จะช่วยเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูลผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย เดินทางไปที่ได้ก็เกิดเมตตามหานิยม มีลาภผลทวี ขจัยภัยภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ

หากสวดคาถาชินบัญชรนี้ขณะทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคได้หายสิ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระคาถาที่มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณที่ว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” เมื่อเดินทางไปที่ใดๆ ให้สวด 10 จบแล้วอธิฐานก็จะสำเร็จได้สมดังใจ












สำหรับใครที่ไม่ค่อยถนัดนักในการที่จะท่องคาถาชินบัญตามตัวหนังสือ หรืออยากจะจำพระคาถานี้ให้ได้ขึ้นใจ เราก็มีคาถาชินบัญชรในรูปแบบที่เป็นวีดีโอ หรือเสียงมาฝาก เอาไว้ให้ไปนั่งฟัง พร้อมกับท่องตามกันได้ง่ายๆ เชื่อว่าหากเพื่อนๆ หมั่นฟังเป็นประจำก็จะทำให้สามารถจดจำคาถาชินบัญชรนี้ได้โดยไม่ต้องเปิดอ่านจากหนังสือสวดมนต์อีกแล้วล่ะ

จงระลึกไว้เสมอว่า บทสวด หรือพระคาถาใดๆ ซึ่งรวมถึงพระคาถาชินบัญชรก็ไม่อาจสามารถพยุงเราให้รอดพ้นจากภัยอันตราย หรือกำหนดจิตใจของเราให้สงบ แน่วแน่ได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ตัวของเรา ใจของเราเอง ยังคงต้องเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยประสานการทำงานให้การสวดภาวนาเหล่านั้นสัมฤทธิ์ผลด้วย อาจมีการนั่งสมาธิ สวดภาวนาพระคาถาต่างๆ หมั่นทำบุญ ตักบาตร และใช้ชีวิตอย่างรอบคอบ มีสติ เพียงเท่านี้ชีวิตของเราก็จะได้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

ข้อมูลบางส่วนจาก Dharma.thaiware.com  และ  www.sanook.com


.

.

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร?

 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร?




หลังจากตรัสรู้   เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จถึงป่าอิสิปตนะ  มฤคทายวันทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


แก่ปัญจวัคคีย์   มีใจความสำคัญคือ


 


1.ทรงชี้ทางที่ผิดอันเป็นส่วนสุด(สุดโต่ง)   ที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน  คือ 


กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม)   และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก)   


แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา(ข้อปฏิบัติสายกลาง) ได้แก่   มรรคมีองค์ 8


ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง  เป็นไปเพื่อพระนิพพาน


 อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ  ปัญญาอันเห็นชอบ,ความดำริชอบ , เจรจาชอบ ,การงานชอบ,


 เลี้ยงชีวิตชอบ ,พยายามชอบ ,ระลึกชอบ ,ตั้งจิตชอบ


 


 


2.ทรงแสดงอริยสัจจ์ 4  คือ


ทุกขอริยสัจ(ทุกข์)  คือ ความเกิด  ความแก่  ความเจ็บ   ความตาย   ล้วนเป็นทุกข์


              ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์


              ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์    โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์


     2.ทุกขสมุทัยอริยสัจ(เหตุให้ทุกข์เกิด)  คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน


            มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา(ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่)  


            ภวตัณหา(ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่)    


            วิภวตัณหา(ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย


      3.ทุกขนิโรธอริยสัจ(ความดับทุกข์) คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรค  คือวิราคะ สละ


           สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.


     4.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)  คือ อริยมรรคมีองค์ 8


             คือ ปัญญาเห็นชอบ    ความดำริชอบ   เจรจาชอบ    การงานชอบ  เลี้ยงชีวิตชอบ


             พยายามชอบ   ระลึกชอบ   ตั้งจิตชอบ


 


ทรงแสดงว่าทรงรู้ตัวอริยสัจจ์ทั้ง4 , ทรงรู้หน้าที่อันควรทำในอริยสัจจ์4   และทรงรู้ว่าได้ทรงทำหน้าที่เสร็จแล้ว


จึงทรงแน่พระหฤทัยว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว(อันแสดงว่าปฏิบัติจนได้ผลด้วยพระองค์เองแล้ว


เมื่อจบพระธรรมเทศนา  พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม(เป็นพระโสดาบัน)  และได้ขอบวชก่อน


ต่อมาพระวัปปะ กับพระภัททิยะ   สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม   และได้ขอบวช


ต่อมาพระมหานามะกับพระอัสสชิ  สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม   และได้ขอบวช


 


พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


ปฐมเทศนา


*********************************************************************


 


**ขยายความมรรคมีองค์ 8


 


1.สัมมาทิฏฐิ(ปัญญาอันเห็นชอบ)  คือ ความรู้ในทุกข์   ในทุกขสมุทัย(เหตุแห่งทุกข์)


   ในทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์)    ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ )


 


 2.  สัมมาสังกัปปะ(ความดำริชอบ)  คือ    ความดำริในการออกจากกาม


      ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน


 


3. สัมมาวาจา(เจรจาชอบ)   คือ  เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ  พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ


 


4. สัมมากัมมันตะ(การงานชอบ)  คือ  เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต(ฆ่าสัตว์)


     อทินนาทาน(ลักทรัพย์)   จากอพรหมจรรย์


 


 5. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีวิตชอบ)     คือ  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย


     สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ (เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ หาเลี้ยงชีพในทางทุจริตผิดวินัยหรือผิดศีลธรรม


     เช่น หลอกลวงเขา เป็นต้น)


 


 6. สัมมาวายามะ(พยายามชอบ)  คือ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร


    ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้  เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น


    เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว      เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น


    พยายาม   ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน


    เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว


 


 7. สัมมาสติ(ระลึกชอบ)  คือ   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   ย่อมพิจารณา

เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด*อภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย


*อภิชฌา(โลภอยากได้ของเขา,ความคิด เพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น)  


 


 8. สัมมาสมาธิ(ตั้งจิตชอบ)   คือ   ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม


    สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน  มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่  


    บรรลุทุติยฌาน   มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก(ความตรึก, ตริ,


    การคิด, ความดำริ)วิจาร(ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การตามฟั้นอารมณ์)สงบไป   มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่


    บรรลุตติยฌาน  มีอุเบกขา มีสติ    มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป


    บรรลุจตุตถฌาน   ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ  บริสุทธิ์อยู่


 



พระไตรปิฎก เล่มที่ 19 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 11 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


วิภังคสูตร  อริยมรรค 8


 





บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา คือ เทศนากัณฑ์แรก พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี จนทำให้เกิดพระอริยสงฆ์สาวก รูปแรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน วันนี้จึงเกิดพระรัตนตรัย ครบ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี เราเรียกวันนี้ว่า วันอาสาฬหบูชา นั่นเอง



บทสวดมนต์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย. ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ.

ทางสุดโต่ง ๒ อย่าง ที่ไม่ควรปฏิบัติ

เท๎วเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต.

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

ทางสายกลาง (ทางออก ทางแห่งความหลุดพ้น) มรรคมีองค์ ๘

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

อริยสัจ ๔

ทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง. ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา.

สมุทัย : เหตุให้เกิดทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง. ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัต๎ระ ตัต๎ราภินันทินี. เสยยะถีทัง. กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา.

นิโรธ : ความดับทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง. โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง.

มรรค : ทางดับทุกข์

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.

ญาณในอริยสัจ ๔

ญาณรู้ว่า นี่คือทุกข์, ทุกข์ควรกำหนดรู้, ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือ เหตุแห่งทุกข์, เหตุแห่งทุกข์ควรละ, เหตุแห่งทุกข์ละได้แล้ว

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือความดับทุกข์, ความดับทุกข์ควรทำให้แจ้ง, ความดับทุกข์ ทำให้แจ้งแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ญาณรู้ว่า นี่คือหนทางดับทุกข์, หนทางดับทุกข์ควรเจริญ, หนทางดับทุกข์ได้เจริญแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ.

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ.

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ.

พระโกณทัญญะบรรลุโสดาบัน

อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง. อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ.

เสียงแซ่สร้องการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าบันลือลั่นไปถึงเทวดา ๖ ชั้น และ พรหม ๑๖ ชั้น

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ.

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
พ๎รัห๎มะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
พ๎รัห๎มะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา มะหาพ๎รัห๎มา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
มะหาพ๎รัห๎มานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ.

พระพุทธเจ้าตรัสรับรองการบรรลุธรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พ๎รัห๎มะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ. อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ. อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง. อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ. อิติหิทัง อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญเต๎ววะ นามัง อะโหสีติ.

คำแปลธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ มาตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค (การประพฤติตนเพื่อแสวงหาความสุขในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา) เป็นธรรม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง คือ อัตตกิลมถานุโยค (การประพฤติตนด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก) ซึ่งเป็นทุกข์อย่างเดียว ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ที่ไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ อันตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพาน.

มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่ง เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน ? คือ มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้นั่นแล.ได้แก่ข้อปฏิบัติเหล่านี้ คือ :- ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย นี่คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วนั้น อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ดี เพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือทุกข์นี้แล มีอยู่ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ความตายก็เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์คือความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่ นี้คือ ตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ ตัณหาคือความอยากในกามคุณ ๕, ตัณหาคือความอยากมีอยากเป็น, ตัณหาคือความอยากไม่มีไม่เป็น.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเอง เป็นความสลัดทิ้ง เป็นความสละคืน เป็นความปล่อยเป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยแห่งตัณหา.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่. นี่คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปด ได้แก่ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว,แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้คือทุกขอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ พึงกำหนดรู้”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้คือทุกขสมุทัยอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ควรละ”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขนิโรธอริยสัจ”. ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ควรกระทำให้แจ้ง”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้เรากระทำให้แจ้งแล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”.

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ” ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณเกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว”.

ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ (ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดี ตราบใด.

เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตราบนั้น. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะ (ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. ก็แล ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว.

ครั้นพระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตอยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”.

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมเทวดาทั้งหลายก็ส่งเสียงบันลือข่าวขึ้นว่า นั่น วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้วณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้.

ทวยเทพชั้นจาตุมหาราช ได้สดับเสียงของเหล่าภุมเทวดาทั้งหลายแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป. ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นยามา ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้วก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นดุสิต ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นนิมมานรดี ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นดุสิตแล้วก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือข่าวต่อไป.ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมทั้งหลาย ได้สดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็ส่งเสียงบันลือเสียงขึ้นว่า.

นั่น วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้.เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่ว อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด.ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ.เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะ นี้ จึงเป็นชื่อของพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.

ใจความสำคัญ : เป็นบทพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์ เรียกว่า ทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ ๑) การทรมานตน ๒) การปรนเปรอตนด้วยกาม และข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดจาชอบ สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นบทสวดที่ชี้ทางแห่งความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นบทสวดที่ควรศึกษาให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งอย่างยิ่ง

ประวัติ : หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ ท้าวสหัมบดีพรหมลงมากราบอาราธนาให้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ทรงรับอาราธนาและเสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หลังจบพระธรรมเทศนา พระอัญญาโกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบวชเป็นภิกษุรูปแรกในพุทธศาสนา ในวันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญเดือน ๘

ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๒๘-๕๓๒ ข้อที่ ๑๖๖๔-๑๖๗๓

https://www.lcbp.co.th/




วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม

  วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม วันวิสาขบูชา  2567 ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6...