วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

คติความเชื่อ ตำนานท้าวเวสสุวรรณ

 

คติความเชื่อ ตำนานท้าวเวสสุวรรณ


ประวัติท้าวเวสสุวรรณ

ตำนานท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนานรูปร่างหน้าตาของท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษสและภูตผีปีศาจ

ท้าวเวสสุวรรณคือใคร ถ้าหากจะพูดถึง “เจ้า” หรือ “นาย”แห่งภูตผีปีศาจทั้งหลายแล้ว เรามักจะเอ่ยนาม “ท้าวเวสสุวัณ” หรือที่พราหมณ์เรียกกันว่า “ท้าวกุเวร” และทางพุทธเรียก “ท้าวไพสพ” ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นล่างสุดของฉกามาพจร ชื่อสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ

ท้าวเวสสุวรรณฐานองค์พระพุทธชินราช

ท้าวเวสสุวรรณฐานองค์พระพุทธชินราช


ท้าวเวสสุวรรณงฐานองค์พระพุทธชินราช

ท้าวเวสสุวรรณงฐานองค์พระพุทธชินราช

รูปร่างหน้าตาของ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) จะเป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเป็นอย่างดี คือ เป็นรูปยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ ด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษส และภูตผีปีศาจ คนโบราณจึง มักทำ รูปท้าวเวสสุวรรณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ภูตผีปีศาจมารบกวนเด็กเล็ก และนิยมทำ ผ้ายันต์รูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) หรือจำหลักเป็นด้ามของมีดหมอที่สัปเหร่อใช้กำราบวิญญาณ เนื่องจากสมัยก่อนเวลาเผาศพก็ยกขึ้นกองฟอนแล้วใส่ไฟเผา พอร้อนเข้าเส้นเอ็นก็ยึดถึงขนาดลุกขึ้นนั่ง สัปเหร่อเลยต้องใช้มีดกรีดตามเส้นเอ็นก่อน ทีนี้พอยกขึ้นเผาศพก็จะไม่กระดุกกระดิก เลยเป็นความเชื่อว่ามีดหมอจำหลักรูปท้าวเวสสุวัณสามารถปราบผีได้

คติความเชื่อ ตำนานท้าวเวสสุวรรณ

ประวัติท้าวเวสสุวรรณ ตำนานท้าวเวสสุวัณ คติความเชื่อแบบไตรภูมิ เชื่อว่ามีท้าวโลกบาลประจำอยู่ 4 ทิศ จึงนิยมจำหลักอยู่ตามบานประตูโบสถ์ วิหาร เรียกว่า “ทวารบาล” หมายถึง ผู้ดูแลประตู บางครั้งพบทวารบาลบางแห่งเป็นแบบจีน แทนที่จะเป็นรูปเทวดาแบบไทยถือพระขรรค์ กลับเป็นเทวดาจีนคล้ายตัวงิ้ว ถือ หอก ดาบ หรือง้าว เหยียบอยู่บนสิงโตจีน เราเรียกว่า “เสี้ยวกาง” หรือ “เซี่ยวกาง” เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลของจีนที่เข้ามาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 เนื่องจากพระองค์นิยมงานศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบจีน ท้าวเวสสุวรรณ ขอ ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม

ท้าวจตุโลกบาลประจำทิศทั้งสี่จะประกอบด้วย

"ทิศตะวันออก" พราหมณ์เรียก พระอินทร์ พุทธเรียก ท้าวธตรฐมี คนธรรพ์ เป็นบริวาร

"ทิศตะวันตก" พราหมณ์เรียก พระวรุณ พุทธเรียก ท้าววิรูปักษ์ มีนาค ครุฑ และเทวดา เป็นบริวาร

"ทิศใต้" พราหมณ์เรียก พระยม พุทธเรียก ท้าววิรุฬหก มกุมภัณฑ์ เป็นยักษ์มีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อตาลเป็นบริวาร

และ "ทิศเหนือ" ได้แก่ ท้าวเวสสุวรรณ พราหมณ์เรียก ท้าวกุเวรพุทธเรียก ท้าวไพสพ มี อสูร รากษส และภูตผีปีศาจ เป็นบริวารท้าวกุเวร

นอกจากนี้ในตำราโบราณและงานวรรณคดีกล่าวตรงกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นยักษ์ที่มีพัสตราภรณ์และผิวกายสีเหลืองทอง จิตใจดีงาม ดำรงอยู่ในสัตยธรรม ถึงขนาดอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพุทธสถาน และองค์พระพุทธเจ้า เช่น รูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ก็ทำเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ)

ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง

ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง

ส่วนด้านขวาเป็นยักษ์อีกตนหนึ่งชื่อ "อาฬาวกยักษ์" เหตุที่เรียกกันว่า "ท้าวกุเวร" เนื่องจากพระพรหมเห็นว่ามีรูปร่างไม่ดี ร่างกายพิการต้องถือไม้เท้า จึงตั้งชื่อให้ดังนั้น ที่บ้านเรามาจำหลักเป็นยักษ์ถือตะบองยันพื้น ก็คงจะมีเค้าเงื่อนมาจากเรื่องดังกล่าว

ความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวัณ" นั้น เวส แปลว่า ฟอค้า หมายถึง ฟอค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เคยมีอดีตชาติเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานคำขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองวิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่าเวสาวัณ ด้วยกุศลด้งกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตายและให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดินบ้านเรารู้จักกันในชื่อ "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" หรือในชื่อ "ธนบดี" แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ หรือ "ธเนศวร" แปลว่า เจ้าแห่งทรัพย์ อีกทั้งมีหน้าที่คอยจดความดีของคนทางทิศอุดรขึ้นไปจารึกและประกาศให้ปวง เทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รับรู้ ผู้คนจึงนิยมจัดสร้าง หรือ จำหลักรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) และเคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกด้วย คาถาท้าวเวสสุวรรณ ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ วัดพราหมณี วัดหลวงพ่อปากแดง รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ วัตถุมงคลที่นิยมทำเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณก็จะมีมากมาย อาทิ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) ของท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม ครับผม

ท้าวเวสสุวรรณ วัดสุทัศน์

ท้าวเวสสุวรรณ วัดสุทัศน์

ที่มา     ::     https://siamrath.co.th/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม

  วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม วันวิสาขบูชา  2567 ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6...