วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

วันอาสาฬหบูชา 2565 ตรงกับวันที่ 13 กรกฎาคม

 

วันอาสาฬหบูชา 2565 ตรงกับวันที่ 13 กรกฎาคม


วันอาสาฬหบูชา


         สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2565 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันพุธที่ 13 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาเท่าใดนัก ดังนั้น วันนี้เรามี ประวัติวันอาสาฬหบูชา มาฝากกันค่ะ 


          ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สา-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 

         วันอาสาฬหบูชา คือ วันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

          ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ 

          สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ 

          1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค 

           การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค       

         ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ 
      
            1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง 

            2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม 
 
            3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต 

            4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต 

            5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต 

            6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี 

            7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด 

            8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

          2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่  
    
            1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด  
    
            2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ  
    
            3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา  

            4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น 

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา 

           พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา
 ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...



ขอบคุณข้อมูลจาก 

ธรรมะไทย   ,   kapook.com






วันเข้าพรรษา 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม

 

วันเข้าพรรษา 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม


 วันเข้าพรรษา 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันหยุดราชการและวันหยุดธนาคาร ซึ่งประวัติ ความสำคัญ กิจกรรมแห่เทียนพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝน ต้องทำอย่างไร มาอัปเดตกัน 



สำหรับ วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา" นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญ กิจกรรม มีดังนี้ 


ประวัติวันเข้าพรรษา



          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น


          - ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

          - ปัจฉิมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

          อย่างไรก็ตาม หากมีกิจธุระ คือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด


          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่


          1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย

          2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้

          3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด

          4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้

          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่าน ครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 

          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา... 

          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 





 นอกจากนี้ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญา หูตาสว่างไสว

          ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว  



กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

          - ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 

          - ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร 

          - ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 

          - อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ




เพลง หนึ่งแสนลูกผู้ชายรวมใจบวชเข้าพรรษา



https://youtu.be/o21K_snBC_8


เพลงวันเข้าพรรษา









https://youtu.be/x59hJ6ThsZ8


เพลง ชวนบวชเข้าพรรษา


https://youtu.be/DSg-3HB5afI


เพลงวันเข้าพรรษา ขับร้องโดย พูลศรี เจริญพงษ์


https://youtu.be/4h0XrNrY2pM


ขอบคุณข้อมูลจาก

กระทรวงวัฒนธรรม

เว็บไซต์ธรรมะไทย    ,   kapook.com



เนื้อเพลง พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 

เนื้อเพลง พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เพลง: พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ศิลปิน: Ocean Media









 

เอวัมเม สุตัง.

เอกัง สะมะยัง

ภะคะวา พาราณะสิยัง

วิหะระติ อสิิปะตะเน

มิคะทาเย. ตัตระ โข ภะคะวา

ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ.

เทวเม ภิกขะเว อันตา

ปัพพะชิเตนะ นะ

เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ

กามะสุขัลลิกานุ โยโค หีโน

คัมโม โปถุชชะนิโก

อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง

อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข

อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต.

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต

อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา

ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ

อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี

ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ

อะภิญญายะ สัมโพธายะ

นิพพานายะ สังวัตตะติ.

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา

ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

จักขุกะระณี ญาณะกะระณีอุปะสะมายะ

อะภิญญายะ สัมโพธายะ

นิพพานายะ สังวัตตะติ.

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก

มัคโค เสยยะถีทัง

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป

สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต

สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม

สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา

ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ

อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี

ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ

อะภิญญายะ สัมโพธายะ

นิพพานายะ สังวัตตะติ

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง

อะริยะสัจจัง ชาติปิทุกขา

ชะราปิ ทุกขา

มะระณัมปิ ทุกขัง

โสกะปะริเทวะ

ทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ

ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค

ทุกโข ปิเยหิวิปปะโยโค

ทุกโข ยัมปิจฉัง

นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ

ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว

ทุกขะสะมุทะโย

อะริยะสัจจัง. ยายังตัณหา

โปโนพภะวิกา

นันทิราคะสะหะคะตา

ตัตระ ตัตราภินันทินี.

เสยยะถีทัง. กามะตัณหา ภะวะตัณหา

วิภะวะตัณหา .

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว

ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง.

โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ

อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค

ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย.

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว

ทุกขะนิโรธะคามินี

ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง.

อะยะเมวะ อะริโย

อัฏฐังคิโก มัคโค.

เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโก

สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต

สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม

สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติเม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโกอุทะปาทิ.

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง

อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุจักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง

อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติเม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ อิทัง ทุกขะสะมุทะโย

อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อิทะปาทุ อาโลโกอุทะปาทิ ตัง โข

ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย

อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ ตัง โข ปะนิทัง

ทุกขะสะมุทะโย

อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

 

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ อิทัง ทุกขะนิโรโธ

อะริยะสัจจันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ ตัง โข

ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ

อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ ตัง โข ปะนิทัง

ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง

สัจฉิกะตันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ อิทัง

ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา

อะริยะสัจจันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปามิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ ตัง โข ปะนิทัง

ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา

อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม

ภิกขะเว ปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปิญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ ตัง โข ปะนิทัง

ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา

อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม

ภิกขะเวปุพเพ

อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุจักขุง

อุทะปาทิ ญาณัง

อุทะปาทิ ปัญญา

อุทะปาทิ วิชชา

อุทะปาทิ อาโลโก

อุทะปาทิ ยาวะกีวัญจะ เม

ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ

อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง

ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง

ญาณะทัสสะนัง นะ

สุวิสุทธัง อะโหสิ

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก

โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก

สัสสะมะณะพราหมะณิยา

ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ

อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง

อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ

จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง

ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง

ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก

สะมาระเก สะพรัมหะเก

สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายา

สะเทวะมะนุสสายะ

อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง

 

อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.

ญาณัญจะ ปะนะ เม

ทัสสะนัง อุทะปาทิ

อะกุปปา เม วิมุตติ

อะยะมันติมา ชาติ

นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ.

อิทะมะโวจะ ภะคะวา.

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู

ภะคะวะโต ภาสิตัง

อะภินันทุง. อิมัสมิญจะ

ปะนะ เวยยากะระณัสมิง

ภัญญะมาเน อายัสมะโต

โกณฑัญญัสสะ วิระชัง

วีตะมะลัง ธมมะจักขุง

อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง

สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา

ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา

สัททะมะนุสสาเวสุง

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง

อิสิปะตะเน มิคะทาเย

อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง

อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา

พราหมะเณนะ วา

เทเวนะ วา

มาเรนะ วา

พรัหมุนา วา

เกนะจิ วา

โลกัสมินติ.

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

จาตุมมะหาราช ิกา เทวา

สัททะมะนุสสาเวสุง

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง

สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา

สัททะมะนุสสนาเวสุง.

ตาวะติงสานัง เทวานัง

สัททัง สุตวา ยามา เทวา

สัททะมะนุสสาเวสุง.

ยามานัง เทวานัง

สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา

สัททะมะนุสสาเวสุง.

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.

นิมมานะระตีนัง เทวานัง

สัททัง สุตวา ปะระนมมิ

ิตะวะสะวัตตี เทวา

สัททะมะนุสสาเวสุง.

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง

สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา

สัททะมะนุสสะเวสุง

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง

อิสปะตะเน มิคะทาเย

อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง

ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง

สะมะเณนะ วา

พราหมะเณนะ วา

เทเวนะ วา

มาเรนะ วา

พรัหมุนา วา

เกนะจิ วา โลกัสมินติ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ

เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ

พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี

โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ

สัมปะเวธิ. อัปปะมาโณ จะ

โอฬาร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ

อะติกกัมเมวะเทวานัง เทวานุภาวัง

อะถะโข ภะคะวาอุทานังอุทาเนสิ

อัญญาสิ วะตะ โภ

โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ

โภ โกณฑัญโญติ

อิติหิทัง อายัสมะโต

โกณฑัญญัสสะ

อัญญาโกณฑัญโญเตววะ

 

นามัง อะโหสีติ

เพลง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


https://youtu.be/VroEZwElW_w




วัดป่าผาสุการาม
วัดป่าผาสุการาม

(2) วัดป่าผาสุการาม - YouTube


วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม

  วันวิสาขบูชา 2567 ตรงกับวันไหน พร้อมประวัติ ความสําคัญ หลักธรรม วันวิสาขบูชา  2567 ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6...